บันทึกการเรียน
วันที่7กุมภาพันธ์ พ.ศ2563
วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่องคณิตศาสตร์ใกล้ตัวมาก โดยที่อาจารย์ไม่ได้เตรียมมาแต่จะนำสิ่งรอบตัวมาสอนในเรื่องงคณิตศาสตร์ คือ กระปุกลูกอมโดยที่อาจารย์หยิบลูกอมมาหนึ่งลูกและส่งให้เพื่อนและเพื่อนก็ส่งต่อมา และอาจารย์ถามว่าลูกอมให้อะไรบ้าง ลูกอมให้เรื่องทรง ขนาด และให้ปริมาณของพื้นที่ลูกอมกับกระปุก ต่อมาอาจารย์สอนเรื่องการนับจำนวนลูกอมในกระปุก การคาดคะแน เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าสิ่งริบตัวสามารถนำมาให้ความรู้กับเด็กๆได้
เกมการศึกษา
หมายถึง สื่อการเรียนที่จัดทำขึ้นเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่างๆ โดยมีกฎเกณฑ์และกติกา ซึ่งจะเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อมและเป็นกิจกรรมการเล่นตามแนวทฤษฎีThe Cognitive Theory of play เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อการฝึกทักษะ เพราะจะช่วยให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน มีการสังเกตและคิดหาเหตุผลที่ดี และจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาเป็นอย่างมาก☆วัตถุประสงค์ของเกมการศึกษา
●ฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกตและจำแนกด้วยสายตา
●ฝึกการคิดหาเหตุผล
●ฝึกการตัดสินใจในการแก้ปัญหา
●ฝึกประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
●ฝึกให้มีคุณธรรมต่างๆ เช่น การรอคอย การมีน้ำใจ
●ทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว
☆ประเภทของเกมการศึกษา
1)เกมการจับคู่
-สิ่งที่เหมือนกัน
-สิ่งที่สัมพันธ์กัน
-สิ่งที่เป็นของประเภทเดียวกัน
-สิ่งที่ขาดหายไป
2)เกมการจัดหมวดหมู่ เช่น ผัก ผลไม้
3)เกมภาพตัดต่อ
4)เกมเรียงลำดับภาพหรือภาพต่อเนื่อง
-เรียงลำดับเหตุการณ์
-เรียงลำดับขนาด
-เรียงลำดับจำนวน
5)เกมโดมิโนหรือเกมต่อภาพเหมือน
6)เกมตารางสัมพันธ์
7)เกมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
8)เกมลอตโต
☆หลักการใช้เกมการศึกษา
ควรลำดับเกมตามความสามารถ เริ่มจากสิ่งที่ไม่ละเอียดมากนักเพราะเด็กจะสังเกตสิ่งที่ใหญ่ก่อน ขั้นตอนก่อนการเล่นควรปฏิบัตตาม ดังนี้
●พูดคุยหรือบอกให้เด็กทราบถึงเรื่องทั่วๆไป
●อธิบายถึงการเล่นเป็นขั้นๆ
●ให้เด็กเล่นโดยครูต้องคอยดูและชี้แนะ
●ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม
●ในการเล่นร่วมกันต้องตกลงกติกากันให้เรียบร้อย
●ครูควรตรวจดูความถูกต้องและให้กำลังใจเมื่อเล่นเสร็จ
●ใครที่เล่นเสร็จก่อนและถูกต้องตามกติกาครูต้องให้คำชมเชยกับเด็ก
●เมื่อเล่นเสร็จแล้วต้องให้เด็กเก็บให้เรียบร้อย
●ควรวางเกมไว้ในห้องให้เด็กสามารถหยิบเล่นเองได้
☆ลักษณะที่ดีของเกมการศึกษา
เกมการศึกษาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ต่างๆสู่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการเลือกใช้เกมการศึกษาค่อนข้างเป็นเรื่องประณีตละเอียดอ่อน
→ไม่จำเป็นต้องมีการตระเตรียมล่วงหน้า
→เป็นเกมที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อนและท้าทายความสามารถของเด็ก
→มีคำสั่งและกติกาในการเล่นชัดเจน
→เป็นเกมสั้นๆไม่ควรใช้เวลาเกิน5นาที
→ต้องให้ความสนุกสนาน ร่าเริง และได้รับความรู้หรือทักษะ
→เป็นเกมที่ไม่ทำให้เสียวินัยในห้องเรียน
→เป็นเกมที่เล่นเป็นทีม หรือเกมที่ไม่เกิดความกังวลเกี่ยวกับผู้ชนะ
→เป็นเกมที่เด็กได้มีการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
→ถ้าเป็นการแข่งขันควรที่จะง่ายในการตรวจสอบและให้คะแนน
→ควรใช้อุปกรณ์ที่สามารถประดิษฐ์ขึ้นเองได้ง่ายๆ
☆ประโยชน์ของเกมการศึกษา
เกมการศึกษาช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีและสามารถจดจำได้ยาวนาน ช่วยให้เด็กมีความสามารถในการแก้ปัญหาและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
☆ลักษณะสื่อ
1.เกมจับคู่
1.1การจับคู่สิ่งที่เหมือนกัน
- จับคู่ภาพหรือสิ่งของที่เหมือนกันทุกประการ
- จับคู่ภาพกับเงาของสิ่งเดียวกัน
- จับคู่ภาพกับโครงร่างของสิ่งเดียวกัน
- จับคู่ภาพที่ซ่อนอยู่ในภาพหลัก
1.2การจับคู่สิ่งที่เป็นประเภทเดียวกัน
1.3การจับคู่สิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน
1.4การจับคู่สิ่งที่สัมพันธ์แบบตรงกันข้าม
1.5การจับคู่ภาพเต็มกับภาพชิ้นส่วนที่หายไป
1.6การจับคู่ภาพที่ซ้อนกัน
1.7การจับคู่ภาพที่เป็นส่วนตัดกับภาพใหญ่
1.8การจับคู่สิ่งที่เหมือนกันแต่สีต่างกัน
1.9การจับคู่สีเหมือนกันแต่ของต่างกัน
1.10การจับคู่สิ่งที่เหมือนกันแต่ขนาดต่างกัน
1.11การจับคู่ภาพที่มีเสียงสระเหมือนกัน
1.12การจับคู่ภาพที่เสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน
1.13การจับคู่แบบอุปมาอุปไมย
1.14การจับคู่แบบอนุกรม
2. เกมภาพตัดต่อ
เพื่อให้เด็กฝึกการสังเกตรายละเอียดของภาพรอยตัดต่อของภาพที่เหมือนกัน หรือต่างกันในเรื่องของสี รูปร่าง ขนาด ลวดลาย เกมประเภทนี้มีจำนวนชิ้นของภาพตัดต่อตั้งแต่ 5 ชิ้นขึ้นไป ซึ่งขึ้นอยู่กับความยากง่ายของภาพชุดนั้น เช่น หากสีของภาพไม่มีความแตกต่างกัน จะทำให้ยากแก่เด็กยิ่งขึ้นภาพตัดต่ออาจเป็นภาพของสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
2.1 ภาพตัดต่อเกี่ยวกับ คน, สัตว์, พืช, ผัก, ผลไม้, ดอกไม้, สิ่งของ, พาหนะ, ตัวเลข, ค่าของจำนวน
2.2 ภาพตัดต่อที่สัมพันธ์กับหน่วยการสอนเช่น การคมนาคม, การจราจร, กลางวัน-กลางคืน, วงจรชีวิต, ฤดูฝน, ป่าแสนสวย
2.1 ภาพตัดต่อเกี่ยวกับ คน, สัตว์, พืช, ผัก, ผลไม้, ดอกไม้, สิ่งของ, พาหนะ, ตัวเลข, ค่าของจำนวน
2.2 ภาพตัดต่อที่สัมพันธ์กับหน่วยการสอนเช่น การคมนาคม, การจราจร, กลางวัน-กลางคืน, วงจรชีวิต, ฤดูฝน, ป่าแสนสวย
3. เกมวางภาพต่อปลาย (โดมิโน) เพื่อฝึกการสังเกต การคิดคำนวณการคิดเป็นเหตุเป็นผลเกมประเภทนี้มีหลายชนิด ประกอบด้วยชิ้นส่วนเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือสามเหลี่ยมตั้งแต่ 9 ชิ้นขึ้นไป ได้แก่
3.1 โดมิโนภาพเหมือน เช่น สิ่งมีชีวิต ได้แก่ คน, สัตว์, พืช, สิ่งของ, เครื่องใช้รูปเรขาคณิต
3.1 โดมิโนภาพเหมือน เช่น สิ่งมีชีวิต ได้แก่ คน, สัตว์, พืช, สิ่งของ, เครื่องใช้รูปเรขาคณิต
3.2 เกมโดมิโนภาพสัมพันธ์
4. เกมเรียงลำดับ เพื่อฝึกทักษะในการจำแนก การคาดคะเน เกมประเภทนี้มีลักษณะเป็นภาพสิ่งของ เรื่องราว เหตุการณ์ ตั้งแต่ 3 ภาพขึ้นไป
4.1 การเรียงลำดับภาพและเหตุการณ์ต่อเนื่อง ประกอบด้วยภาพจำนวนหนึ่งแสดงถึงเหตุการณ์ นิทาน เรื่องราวต่อเนื่องกัน หรือการเจริญเติบโตของพืช วงจรชีวิตของสัตว์
4.2 การเรียงลำดับ ขนาด ความยาว ปริมาณ ปริมาตร จำนวน เช่น ใหญ่ – เล็ก, สั้น – ยาว, หนัก – เบา, มาก – น้อย ฯลฯ
5. เกมการจัดหมวดหมู่ เพื่อฝึกทักษะ การสังเกต การจัดแยกประเภทเกมประเภทนี้มีลักษณะเป็นแผ่นภาพ หรือของจริงประเภทสิ่งของต่างๆ
5.1 ภาพสิ่งต่างๆ ที่นำมาจัดเป็นพวกๆ ตามความคิดของเด็กที่มีจำนวนตั้งแต่ 4 ชิ้นขึ้นไป อาจเป็นภาพของสิ่งต่อไปนี้
- ภาพที่จัดหมวดหมู่ตามรูปร่าง สี ขนาด รูปทรงเรขาคณิต ฯลฯ
- ภาพเกี่ยวกับประเภทของสัตว์ เช่น สัตว์บก สัตว์น้ำ ฯลฯ
- ภาพเกี่ยวกับประเภทของพืช ผัก ผลไม้
- ภาพเกี่ยวกับประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน
5.2 วัสดุของจริง ซึ่งอาจมีจำนวนตั้งแต่ 4 ชิ้นขึ้นไป
- กระดุมที่มีขนาด รูปร่าง สีต่างๆ กัน ในการเล่นผู้เล่นอาจแยกเป็นกองๆ ตามขนาด รูปร่าง หรือแยกตามสีก็ได้
- วัสดุต่างๆ รวมกัน เช่น ไม้ พลาสติก เมล็ดพืช เปลือกหอย ก้อนหิน ฯลฯ ผู้เล่นอาจแยกตามขนาด รูปร่าง สี หรือส่วนประกอบของวัสดุก็ได้
- ตุ๊กตารูปคน สัตว์ ฯลฯ การเล่นก็จะเป็นเช่นเดียวกัน
6. เกมหาความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับสัญลักษณ์
เกมนี้จะช่วยเด็กก่อนที่จะเริ่มอ่านเขียน เด็กจะคุ้นเคยกับสัญลักษณ์ เป็นภาพที่มีภาพกับคำหรือตัวเลขแสดงจำนวนกำหนดให้ตั้งแต่ 3 คู่ขึ้นไปเด็กจะต้องหาบัตรคำมาวางเทียบเคียงให้ถูกต้อง
เกมนี้จะช่วยเด็กก่อนที่จะเริ่มอ่านเขียน เด็กจะคุ้นเคยกับสัญลักษณ์ เป็นภาพที่มีภาพกับคำหรือตัวเลขแสดงจำนวนกำหนดให้ตั้งแต่ 3 คู่ขึ้นไปเด็กจะต้องหาบัตรคำมาวางเทียบเคียงให้ถูกต้อง
7. เกมหาภาพที่มีความสัมพันธ์ลำดับที่กำหนด
ฝึกการสังเกตลำดับที่ ถ้าเป็นต้นแบบจะฝึกเรื่องความจำ เกมประเภทนี้มี ภาพต่างๆ 5 ภาพ เป็นแบบให้เด็กได้สังเกตลำดับของภาพ ส่วนที่เป็นคำถามจะมีภาพกำหนดให้ 2 ภาพ ให้เด็กหาภาพที่สามที่เป็นคำตอบที่จะทำให้ภาพทั้งสามเรียงลำดับถูกต้องตามต้นแบบ
8. เกมการสังเกตรายละเอียดของภาพ (ลอตโต)
ฝึกการสังเกตรายละเอียดภาพ เกมจะประกอบด้วยภาพหลัก 1 ภาพและชิ้นส่วนที่มีภาพส่วนย่อย สำหรับเทียบกับภาพแผ่นหลักอีกจำนวนหนึ่ง ตั้งแต่ 4 ชิ้นขึ้นไป ให้เด็กเลือกภาพชิ้นส่วนเฉพาะที่มีอยู่ในภาพหลัก หรือภายในเงื่อนไขที่กำหนดให้เกี่ยวกับภาพหลัก
ฝึกการสังเกตรายละเอียดภาพ เกมจะประกอบด้วยภาพหลัก 1 ภาพและชิ้นส่วนที่มีภาพส่วนย่อย สำหรับเทียบกับภาพแผ่นหลักอีกจำนวนหนึ่ง ตั้งแต่ 4 ชิ้นขึ้นไป ให้เด็กเลือกภาพชิ้นส่วนเฉพาะที่มีอยู่ในภาพหลัก หรือภายในเงื่อนไขที่กำหนดให้เกี่ยวกับภาพหลัก
9. เกมหาความสัมพันธ์แบบอุปมาอุปไมย
ฝึกการคิดคำนวณแบบเป็นเหตุเป็นผลกัน เกมประกอบด้วยชิ้นส่วนแผ่นยาวจำนวน 2 ชิ้นต่อกันด้วยผ้าหรือวัสดุอื่น สาระของเกมอาจเป็นในเรื่องของรูปร่าง จำนวน ฯลฯ
10. เกมพื้นฐานการบวก
เพื่อฝึกทักษะทางตัวเลข ฝึกให้มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการรวมกันหรือการบวกโดยมีรายละเอียด ดังนี้
- เกมแต่ละเกมจะประกอบด้วยภาพหลัก 1 ภาพ ที่แสดงจำนวนต่างๆ และมีภาพชิ้นส่วนตั้งแต่ 2 ภาพขึ้นไป ภาพชิ้นส่วนมีขนาดครึ่งของภาพหลัก
- ให้เด็กหาภาพชิ้นส่วน 2 ภาพ ที่รวมกันแล้วมีจำนวนเท่ากับภาพหลักแล้วนำมาวางเทียบเคียงกับภาพหลัก
เพื่อฝึกทักษะทางตัวเลข ฝึกให้มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการรวมกันหรือการบวกโดยมีรายละเอียด ดังนี้
- เกมแต่ละเกมจะประกอบด้วยภาพหลัก 1 ภาพ ที่แสดงจำนวนต่างๆ และมีภาพชิ้นส่วนตั้งแต่ 2 ภาพขึ้นไป ภาพชิ้นส่วนมีขนาดครึ่งของภาพหลัก
- ให้เด็กหาภาพชิ้นส่วน 2 ภาพ ที่รวมกันแล้วมีจำนวนเท่ากับภาพหลักแล้วนำมาวางเทียบเคียงกับภาพหลัก
11. เกมจับคู่ตารางสัมพันธ์ เพื่อฝึกการคิดการสังเกต การคิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์