วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่5

บันทึกการเรียน
วันที่7กุมภาพันธ์ พ.ศ2563
        วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่องคณิตศาสตร์ใกล้ตัวมาก โดยที่อาจารย์ไม่ได้เตรียมมาแต่จะนำสิ่งรอบตัวมาสอนในเรื่องงคณิตศาสตร์ คือ กระปุกลูกอมโดยที่อาจารย์หยิบลูกอมมาหนึ่งลูกและส่งให้เพื่อนและเพื่อนก็ส่งต่อมา และอาจารย์ถามว่าลูกอมให้อะไรบ้าง ลูกอมให้เรื่องทรง ขนาด และให้ปริมาณของพื้นที่ลูกอมกับกระปุก ต่อมาอาจารย์สอนเรื่องการนับจำนวนลูกอมในกระปุก การคาดคะแน เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าสิ่งริบตัวสามารถนำมาให้ความรู้กับเด็กๆได้



เกมการศึกษา

     หมายถึง สื่อการเรียนที่จัดทำขึ้นเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่างๆ โดยมีกฎเกณฑ์และกติกา ซึ่งจะเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อมและเป็นกิจกรรมการเล่นตามแนวทฤษฎีThe Cognitive Theory of play เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อการฝึกทักษะ เพราะจะช่วยให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน มีการสังเกตและคิดหาเหตุผลที่ดี และจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาเป็นอย่างมาก

     ☆วัตถุประสงค์ของเกมการศึกษา
●ฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกตและจำแนกด้วยสายตา
●ฝึกการคิดหาเหตุผล
●ฝึกการตัดสินใจในการแก้ปัญหา
●ฝึกประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
●ฝึกให้มีคุณธรรมต่างๆ เช่น การรอคอย การมีน้ำใจ
●ทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว
  
     ☆ประเภทของเกมการศึกษา
1)เกมการจับคู่
-สิ่งที่เหมือนกัน


-สิ่งที่สัมพันธ์กัน

-สิ่งที่เป็นของประเภทเดียวกัน

-สิ่งที่ขาดหายไป

2)เกมการจัดหมวดหมู่ เช่น ผัก ผลไม้

3)เกมภาพตัดต่อ

4)เกมเรียงลำดับภาพหรือภาพต่อเนื่อง
-เรียงลำดับเหตุการณ์



-เรียงลำดับขนาด
-เรียงลำดับจำนวน
5)เกมโดมิโนหรือเกมต่อภาพเหมือน

6)เกมตารางสัมพันธ์

7)เกมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

8)เกมลอตโต

     ☆หลักการใช้เกมการศึกษา
     ควรลำดับเกมตามความสามารถ เริ่มจากสิ่งที่ไม่ละเอียดมากนักเพราะเด็กจะสังเกตสิ่งที่ใหญ่ก่อน ขั้นตอนก่อนการเล่นควรปฏิบัตตาม ดังนี้
●พูดคุยหรือบอกให้เด็กทราบถึงเรื่องทั่วๆไป
●อธิบายถึงการเล่นเป็นขั้นๆ
●ให้เด็กเล่นโดยครูต้องคอยดูและชี้แนะ
●ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม
●ในการเล่นร่วมกันต้องตกลงกติกากันให้เรียบร้อย
●ครูควรตรวจดูความถูกต้องและให้กำลังใจเมื่อเล่นเสร็จ
●ใครที่เล่นเสร็จก่อนและถูกต้องตามกติกาครูต้องให้คำชมเชยกับเด็ก
●เมื่อเล่นเสร็จแล้วต้องให้เด็กเก็บให้เรียบร้อย
●ควรวางเกมไว้ในห้องให้เด็กสามารถหยิบเล่นเองได้

     ☆ลักษณะที่ดีของเกมการศึกษา
     เกมการศึกษาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ต่างๆสู่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการเลือกใช้เกมการศึกษาค่อนข้างเป็นเรื่องประณีตละเอียดอ่อน
→ไม่จำเป็นต้องมีการตระเตรียมล่วงหน้า
→เป็นเกมที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อนและท้าทายความสามารถของเด็ก
→มีคำสั่งและกติกาในการเล่นชัดเจน
→เป็นเกมสั้นๆไม่ควรใช้เวลาเกิน5นาที
→ต้องให้ความสนุกสนาน ร่าเริง และได้รับความรู้หรือทักษะ
→เป็นเกมที่ไม่ทำให้เสียวินัยในห้องเรียน
→เป็นเกมที่เล่นเป็นทีม หรือเกมที่ไม่เกิดความกังวลเกี่ยวกับผู้ชนะ
→เป็นเกมที่เด็กได้มีการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
→ถ้าเป็นการแข่งขันควรที่จะง่ายในการตรวจสอบและให้คะแนน
→ควรใช้อุปกรณ์ที่สามารถประดิษฐ์ขึ้นเองได้ง่ายๆ

     ☆ประโยชน์ของเกมการศึกษา
     เกมการศึกษาช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีและสามารถจดจำได้ยาวนาน ช่วยให้เด็กมีความสามารถในการแก้ปัญหาและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

     ☆ลักษณะสื่อ
1.เกมจับคู่ 
     1.1การจับคู่สิ่งที่เหมือนกัน
- จับคู่ภาพหรือสิ่งของที่เหมือนกันทุกประการ
- จับคู่ภาพกับเงาของสิ่งเดียวกัน 
- จับคู่ภาพกับโครงร่างของสิ่งเดียวกัน 
- จับคู่ภาพที่ซ่อนอยู่ในภาพหลัก 

     1.2การจับคู่สิ่งที่เป็นประเภทเดียวกัน

     1.3การจับคู่สิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน

     1.4การจับคู่สิ่งที่สัมพันธ์แบบตรงกันข้าม

     1.5การจับคู่ภาพเต็มกับภาพชิ้นส่วนที่หายไป



     1.6การจับคู่ภาพที่ซ้อนกัน
     1.7การจับคู่ภาพที่เป็นส่วนตัดกับภาพใหญ่
     1.8การจับคู่สิ่งที่เหมือนกันแต่สีต่างกัน

     1.9การจับคู่สีเหมือนกันแต่ของต่างกัน
     1.10การจับคู่สิ่งที่เหมือนกันแต่ขนาดต่างกัน
     1.11การจับคู่ภาพที่มีเสียงสระเหมือนกัน

     1.12การจับคู่ภาพที่เสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน
     1.13การจับคู่แบบอุปมาอุปไมย
     1.14การจับคู่แบบอนุกรม
2. เกมภาพตัดต่อ 
เพื่อให้เด็กฝึกการสังเกตรายละเอียดของภาพรอยตัดต่อของภาพที่เหมือนกัน หรือต่างกันในเรื่องของสี รูปร่าง ขนาด ลวดลาย เกมประเภทนี้มีจำนวนชิ้นของภาพตัดต่อตั้งแต่ 5 ชิ้นขึ้นไป ซึ่งขึ้นอยู่กับความยากง่ายของภาพชุดนั้น เช่น หากสีของภาพไม่มีความแตกต่างกัน จะทำให้ยากแก่เด็กยิ่งขึ้นภาพตัดต่ออาจเป็นภาพของสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ 
     2.1 ภาพตัดต่อเกี่ยวกับ คน, สัตว์, พืช, ผัก, ผลไม้, ดอกไม้, สิ่งของ, พาหนะ, ตัวเลข, ค่าของจำนวน 
     2.2 ภาพตัดต่อที่สัมพันธ์กับหน่วยการสอนเช่น การคมนาคม, การจราจร, กลางวัน-กลางคืน, วงจรชีวิต, ฤดูฝน, ป่าแสนสวย 
3. เกมวางภาพต่อปลาย (โดมิโน) เพื่อฝึกการสังเกต การคิดคำนวณการคิดเป็นเหตุเป็นผลเกมประเภทนี้มีหลายชนิด ประกอบด้วยชิ้นส่วนเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือสามเหลี่ยมตั้งแต่ 9 ชิ้นขึ้นไป ได้แก่ 
     3.1 โดมิโนภาพเหมือน เช่น สิ่งมีชีวิต ได้แก่ คน, สัตว์, พืช, สิ่งของ, เครื่องใช้รูปเรขาคณิต 


     3.2 เกมโดมิโนภาพสัมพันธ์ 
















4. เกมเรียงลำดับ เพื่อฝึกทักษะในการจำแนก การคาดคะเน เกมประเภทนี้มีลักษณะเป็นภาพสิ่งของ เรื่องราว เหตุการณ์ ตั้งแต่ 3 ภาพขึ้นไป 
     4.1 การเรียงลำดับภาพและเหตุการณ์ต่อเนื่อง ประกอบด้วยภาพจำนวนหนึ่งแสดงถึงเหตุการณ์ นิทาน เรื่องราวต่อเนื่องกัน หรือการเจริญเติบโตของพืช วงจรชีวิตของสัตว์ 

     4.2 การเรียงลำดับ ขนาด ความยาว ปริมาณ ปริมาตร จำนวน เช่น ใหญ่ – เล็ก, สั้น – ยาว, หนัก – เบา, มาก – น้อย ฯลฯ 


5. เกมการจัดหมวดหมู่ เพื่อฝึกทักษะ การสังเกต การจัดแยกประเภทเกมประเภทนี้มีลักษณะเป็นแผ่นภาพ หรือของจริงประเภทสิ่งของต่างๆ 
     5.1 ภาพสิ่งต่างๆ ที่นำมาจัดเป็นพวกๆ ตามความคิดของเด็กที่มีจำนวนตั้งแต่ 4 ชิ้นขึ้นไป อาจเป็นภาพของสิ่งต่อไปนี้ 
- ภาพที่จัดหมวดหมู่ตามรูปร่าง สี ขนาด รูปทรงเรขาคณิต ฯลฯ 
- ภาพเกี่ยวกับประเภทของสัตว์ เช่น สัตว์บก สัตว์น้ำ ฯลฯ 
- ภาพเกี่ยวกับประเภทของพืช ผัก ผลไม้ 
- ภาพเกี่ยวกับประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน 
     5.2 วัสดุของจริง ซึ่งอาจมีจำนวนตั้งแต่ 4 ชิ้นขึ้นไป 
- กระดุมที่มีขนาด รูปร่าง สีต่างๆ กัน ในการเล่นผู้เล่นอาจแยกเป็นกองๆ ตามขนาด รูปร่าง หรือแยกตามสีก็ได้ 
- วัสดุต่างๆ รวมกัน เช่น ไม้ พลาสติก เมล็ดพืช เปลือกหอย ก้อนหิน ฯลฯ ผู้เล่นอาจแยกตามขนาด รูปร่าง สี หรือส่วนประกอบของวัสดุก็ได้ 
- ตุ๊กตารูปคน สัตว์ ฯลฯ การเล่นก็จะเป็นเช่นเดียวกัน 
6. เกมหาความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับสัญลักษณ์ 
เกมนี้จะช่วยเด็กก่อนที่จะเริ่มอ่านเขียน เด็กจะคุ้นเคยกับสัญลักษณ์ เป็นภาพที่มีภาพกับคำหรือตัวเลขแสดงจำนวนกำหนดให้ตั้งแต่ 3 คู่ขึ้นไปเด็กจะต้องหาบัตรคำมาวางเทียบเคียงให้ถูกต้อง 

7. เกมหาภาพที่มีความสัมพันธ์ลำดับที่กำหนด 
ฝึกการสังเกตลำดับที่ ถ้าเป็นต้นแบบจะฝึกเรื่องความจำ เกมประเภทนี้มี ภาพต่างๆ 5 ภาพ เป็นแบบให้เด็กได้สังเกตลำดับของภาพ ส่วนที่เป็นคำถามจะมีภาพกำหนดให้ 2 ภาพ ให้เด็กหาภาพที่สามที่เป็นคำตอบที่จะทำให้ภาพทั้งสามเรียงลำดับถูกต้องตามต้นแบบ 

8. เกมการสังเกตรายละเอียดของภาพ (ลอตโต) 
ฝึกการสังเกตรายละเอียดภาพ เกมจะประกอบด้วยภาพหลัก 1 ภาพและชิ้นส่วนที่มีภาพส่วนย่อย สำหรับเทียบกับภาพแผ่นหลักอีกจำนวนหนึ่ง ตั้งแต่ 4 ชิ้นขึ้นไป ให้เด็กเลือกภาพชิ้นส่วนเฉพาะที่มีอยู่ในภาพหลัก หรือภายในเงื่อนไขที่กำหนดให้เกี่ยวกับภาพหลัก 


9. เกมหาความสัมพันธ์แบบอุปมาอุปไมย 
ฝึกการคิดคำนวณแบบเป็นเหตุเป็นผลกัน เกมประกอบด้วยชิ้นส่วนแผ่นยาวจำนวน 2 ชิ้นต่อกันด้วยผ้าหรือวัสดุอื่น สาระของเกมอาจเป็นในเรื่องของรูปร่าง จำนวน ฯลฯ 

10. เกมพื้นฐานการบวก 
เพื่อฝึกทักษะทางตัวเลข ฝึกให้มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการรวมกันหรือการบวกโดยมีรายละเอียด ดังนี้ 
- เกมแต่ละเกมจะประกอบด้วยภาพหลัก 1 ภาพ ที่แสดงจำนวนต่างๆ และมีภาพชิ้นส่วนตั้งแต่ 2 ภาพขึ้นไป ภาพชิ้นส่วนมีขนาดครึ่งของภาพหลัก 
- ให้เด็กหาภาพชิ้นส่วน 2 ภาพ ที่รวมกันแล้วมีจำนวนเท่ากับภาพหลักแล้วนำมาวางเทียบเคียงกับภาพหลัก 


11. เกมจับคู่ตารางสัมพันธ์ เพื่อฝึกการคิดการสังเกต การคิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์