วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2563

คลิปสาธิตการสอน วันจันทร์ หน่วยเครื่องเขียน

 และอาจารย์ได้ให้ทิคการสอน และนำปรับไปแก้ไข
1ขั้นนำจะนำด้วยอะไรกันแน่ ในแผนให้ทำอะไร 2 การสอนเพลงสอนอย่างไร3 ใช้คำถามและบันทึกได้ดีคะในโอกาสสอนจริงควรมีภาพกำกับคำที่สื่อเป็นภาพได้นะคะ3เราไม่ถามก่อนว่ามีอะไรบ้างเพราะเด็กเบื่อ ให้กะประมาณก่อน แล้วตอบก่อน4ครูถามชื่อเครื่อง...เด็กตอบแล้วนับโดยวางเรียงจากซ้ายไปขวาทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนถึงเลขสุดท้ายครูถามเครื่อง...มีจำนวนทั้งหมดเท่าไหร่ให้อาสา..ไปหยิบเลขฮิน...มากำกับทีเครือง...ชิ้นสุดท้าย5จัดหมวดหมู่ใช้เกณฑ์เดียว พอเราแยกอย่างนี้เด็กไม่ได้เห็นการแยกออกไปจากกลุ่มใหญ่และไม่ได้ประเมินขั้นอนุรักษ์6เรียกชื่อกลุ่มไม่ใช่ฝั่ง วันนี้เรายังไม่ไปสาระที่6ดังนั้นยังไม่ใช้เครื่องหมายคณิตคะ 7สรุปควรชี้วนไปทางขวาเหมือนเข็มนาฬิกา ขั้นนี้ไม่มาถามแล้วคะ

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่15

บันทึกการเรียนครั้งที่15
วันที่22 เมษา พ.ศ.2563
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   
เนื้อหา
วันนี้ได้ตรวจแผนกลุ่มอื่นที่ยังไม่ได้ตรวจและยังให้คำอธิบายเพิ่มเติม แก้ไขตรงไหนบ้าง และอาจารย์ได้ให้เตรียมการสอน โดยนำแก้วน้ำมาสองใบ ดินสอ  และปากกา 

เทคนิคการสอน นำอุปกรณ์ใกล้ตัวมาเป็นสื่อการสอน การนับจำนวน

งานที่มอบหมายครั้งนี้ อาจารย์ให้นักศึกษา สาธิตการสอนหน่วยเครื่องเขียน
  คำศัพท์
Count   จำนวนนับ
Moreเพิ่มเติม
Decreaseลดลง
explainอธิบาย
glassแก้ว
                                                                               ประเมิน
เพื่อน ตั้งใจฟังอาจารย์และไม่เข้าใจตรงไหนก็ถามอาจารย์
ตนเอง บางครั้งก็ไม่ได้ฟัง บางครั้งก็ฟังอาจารย์แต่ไม่ค่อยตอบคำถามที่อาจารย์ถาม
อาจารย์ อาจารย์อธิบายไดละเอียด





บันทึกการเรียนครั้งที่14

บันทึกการเรียนครั้งที่14
วันที่15 เมษายน พ.ศ.2563
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


เนื้อหาที่เรียน
วันนี้อาจารย์ได้ตรวจงานแผนการสอน และอาจารย์ได้อธิบายในการจัดทำแผนการสอนอย่างละเอียด และได้ให้ทุกกลุ่มกับไปแก้ไขเหมือนเดิม และนอกจากนี้การเขียนแผนในส่วนที่เป็น ใยแมงมุม6กิจกรรม การแตกเส้นต่อๆกันควรใช้เป็นลูกศรเชื่อมจากหัวข้อใหญ่โดยตรงเพื่อไม่ให้เด็กเข้าใจยาก

คำศัพท์

An arrow ลูกศร
importantสำคัญ
activityกิจกรรม
benefitประโยชน์
                                                                                       ประเมิน
ตนเอง บางครั้งก็ตั้งใจฟังที่อาจารย์พูด และตอบคำถามที่อาจารย์ฟัง และจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้
เพื่อน ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย แต่ส่วนน้อยมาก ไม่ตอบคำถามที่อาจารย์ถาม
อาจารย์  ตั้งใจสอนนักศึกษา อธิบายได้ละเอียด

บันทึกการเรียนครั้งที่13

บันทึกการเรียนครั้งที่13
วันที่8เมษายน พ.ศ.2563
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




เนื้อหาที่เรียน📝
ในวันนี้อาจารย์ได้ตรวจงานเช่นเดิม ตรวจการจัดประสบการณ์การแผนการสอนของกลุ่มเพื่อนๆ และให้กลุ่มอื่นนำมาเป็นตัวอย่างและนำมาปรับปรุงแก้ไขภายในกลุ่มของตัวเอง โดยนำข้อที่แก้ไขที่อาจารย์มาแก้ไขของตัวเอง   
เทคนิค⚡ การสอนไม่จำเป็นต้องเน้นเนื้อหาทั้งหมด แต่เน้นสิ่งสำคัญที่เด็กจะต้องรู้ และการสอนควรมีขั้นนำ เช่น เพลง คำถาม เกม ปริศนาคำทาย
                     

                                                                          คำศัพท์

techniqueg  =เทคนิค
To teach= การสอน
Leading =ขั้นนำ
music=เพลง
Teaching step=ขั้นสอน

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่12

บันทึกการเรียนครั้งที่12
วันที่1เมษายน พ.ศ.2563
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


เนื้อหา
วันนี้เรียนเรื่องเทคนิคในการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กและทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

เทคนิคการสอน
สามรถสอนโดยใช้ เพลง เกม บทบาทสมมติ ปริศนาคำทาย อาจจะมีการใส่เนื้อหาลงในเคนิคต่างๆ

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ประกอบด้วย

การจำแนกประเภท คือการฝึกฝนให้เด็กรู้จักสังเกตสิ่งต่าง ๆ ว่ามีความเหมือนและต่างกันอย่างไร จึงสามารถจัดประเภทได้
การจัดหมวดหมู่ คือการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่าง ๆ และจับสิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรืออยู่ประเภทเดียวกัน
การเรียงลำดับ คือการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดดินสอ 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำหรือจากสั้นไปยาว
การเปรียบเทียบ คือเด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้ คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า เบากว่า สูงกว่า ฯลฯ
รูปทรง คือให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส วงรี สี่เหลี่ยมผืนผ้า ฯลฯ ผ่านการจับของเล่นหรือสิ่งของรอบตัว
พื้นที่ คือการให้เด็กได้รู้จักความตื้น - ลึก, กว้าง - แคบ ของสิ่งต่าง ๆ
การชั่งตวงวัด คือให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเองให้รู้จักความยาว และระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณอย่างคร่าว ๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาก่อน

เรียนรู้หน่วยปริมาตรการชั่ง
การนับ คือคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่  1 – 10 หรือมากกว่านั้น
การรู้จักตัวเลข คือการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็น หรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นที่เกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยอาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า ฯลฯ
การรู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข คือการเริ่มให้เด็กจับคู่ทีละหนึ่งก่อน จากนั้นค่อยเพิ่มจำนวน ตัวอย่างเช่น กิจกรรมลูกปัดไม้จำนวนในการทำกิจกรรมคือ มีบัตรตัวเลข 0 - 10 วางลูกปัดไม้ไว้เป็นกลุ่ม โดยคละจำนวนให้เด็กนับลูกปัดแต่ละกลุ่ม และนำบัตรตัวเลขไปวางตามจำนวนของลูกปัดแต่ละกลุ่มที่นับจำนวนได้ เป็นต้น
เวลา คือ การเรียนรู้จักเวลาง่าย ๆ การเรียนรู้เรื่องเข็มสั้นบอกชั่วโมง เข็มยาวบอกนาที และตัวเลข 1 - 12 ถ้าจะสอนเรื่องนาทีขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละบุคคลค่ะ
การเพิ่มและการลดจำนวน คือ การหาผลบวกและลบ ไม่เกิน 5 10 15 20 25 ฯลฯ เพิ่มจำนวนความยาก - ง่าย ตามความเหมาะสมกับความพร้อมของเด็ก

การเรียนรู้เรื่องการวัด

เด็กสนุกกับการเรียนรู้เรื่องคณิตศาสตร์
จากที่กล่าวมา หากเด็กได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และเรียนรู้จากการใช้สื่อการสอนที่เป็นรูปธรรม จะส่งผลให้มี ทักษะกระบวนการทางความคิด และพัฒนาความสามารถด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การรู้ค่าจำนวน การจัดหมวดหมู่ การจำแนกเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ และการหาความสัมพันธ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เด็กจะเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ตรง ที่เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวในชีวิตประจำวัน หรือการจัดกิจกรรมของคุณครูหรือผู้ปกครอง แต่ในการจัดกิจกรรมจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่เด็กจะได้พัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ

คำศัพท์
Classify  จำแนก
Counting  การนับ
Compare เปรียบเทียบ
Sort  เรียงลำดับ
Number  จำนวน

ประเมิน
อาจารย์ อาจารย์มีการแนะนำและสอนอธิบายบอกเทคนิดการสอน
เพื่อน ตั้งใจฟังและตั้งใจตอบคำถาม
ตนเอง นำเทคนิคมาแก้ไขปรับปรุงแผนของตัวเอง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11s
วันที่25มีนาคม พ.ศ. 2563
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


เนื้อหา

วันนี้จะเรียนเรื่องเกี่ยวกับแผนการสอน จากครั้งที่แล้วอาจารย์สั่งงานไป วันนี้อาจารย์จะนำแผนมาตรวจและจะบอกข้อแก้ไข และกับไปปรับปรุงแผน ซึ่งกลุ่มดิฉันได้ทำแผนเรื่อง กล้วย
  

งานที่ได้รับมอบหมาย

แก้แผนการสอนและปรับปรุงแก้ไขให้เรียบร้อย
สรุป
    การจัดทำแผนการสอน คือการสอนไม่จำเป็นต้องสอนเข้าเนื้อหา แต่จะมีขั้นนำที่นำเด็กร้องเพลง ผ่อนคลายเตรียมพร้อมกับเนื้อหาที่คุณครูจะสอนเข้าบทเรียน และสิ่งที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากที่สุด คือให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น หรือการปฎิบัติ

คำศัพท์
Improve ปรับปรุง
Step ขั้น
Practice  ปฏิบัติ
Recommend  แนะนำ
Assign มอบหมาย


ประเมิน
อาจารย์ อาจารย์ให้คำแนะนำแต่ละกลุ่มเป็นอย่างดีและเข้าใจ
เพื่อน ตั้งใจฟัง และให้ความร่วมมือในการเรียนในครั้งนี้
ตนเอง เริ่มรู้จักปรับตัวเข้ากับการเรียนการสอน

บันทึกการเรียนครั้งที่10

บันทึกการเรียนครั้งที่10
วันที่18 มีนาคม พ.ศ.2563
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


นื้อหา
       วันนี้จะเป็นการเรียนออนไลน์ ซึ่งเกิดจากสถานการณ์โรคโควิด19 ทำให้นักศึกษาหรือเพื่อนมาเรียนไม่ได้
วันนี้จะเรียนเกี่ยวกับแผนการสอนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
ส่วนประกอบของแผนการสอนมีดังนี้
1วัตถุประสงค์
2สาระที่ควรรู้
2.1สาระการเรียนรู้
2.2ประสบการณ์สำคัญ
3กิจกรรมการเรียนรู้
4สื่อ/แหล่งเรียนรู้
5การวัดและประเมินผล
6ชิ้นงาน/ร่องรอยการเรียนรู้
      -หลังจากที่ทำการเรียนการสอนแกเด็กไปแล้ว คุณครูจะต้องประเมินการสอนด้วยการสังเกต หรือตั้งถามเด็กตลอด เพื่อจะได้รู้ว่าเด็กเกิดการเรียนหรือไม่อย่างไร
               งานที่่ได้รับมอบหมาย

วันนี้อาจารย์สั่งงาน ให้นักศึกษากลับไปเขียนแผนการสอนที่นำคณิตศาสตร์มาเกี่ยวข้อง หรือมาบูรณาการ เป็นงานกลุ่ม กลุ่มละ6คน
                      
คำศัพท์

Learning   สาระการเรียนรู้
Objective   วัตุประสงค์
Learning activities   กิจกรรมการเรียนรู้
Evaluation  การวัดผลประเมินผล
Work piece ชิ้นงาน

ประเมินผล
อาจารย์ สอนได้อย่างเข้าใจและมีการยกตัวอย่างเพื่อทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
เพื่อน ตั้งใจเรียน เข้ามาดูอาจารย์สอนกันทุกคนเลย
ตนเอง นั่งฟังอาจารย์สอนออนไลน์ครั้งแรก อาจจะไม่ค่อยลงตัวเท่าไหร่เพราะบรรยากาศการเรียนอาจจะไม่ค่อยอำนวยสักเท่าไหร่เพราะเป็นการเรียนที่บ้านทำให้มีสิ่งรบกวนเยอะ